• Sat. Apr 27th, 2024

ไขความลับที่ทำให้ “หมีน้ำ” เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายยากที่สุดในโลก

0 0
Read Time:4 Minute, 2 Second

หากมีใครถามว่า สิ่งมีชีวิตที่ตายยากที่สุดในโลกคืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง “หมีน้ำ” (Tardigrade) สิ่งมีชีวิตแปดขาตัวเล็ก ๆ ขนาดเพียงไม่ถึงมิลลิเมตร ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในทุกสภาวะที่หากเป็นสิ่งมีชีวิตอื่นยังไงก็ตายร้อยทั้งร้อย

หมีน้ำมีอยู่มากกว่า 1,300 สายพันธุ์ สามารถพบได้ในทุกที่ของโลก ทั้งยอดเขา ทะเลลึก ป่าฝนเขตร้อน หรือแอนตาร์กติก

“โคร็อกเกะคิวามิ” เมนูดังในญี่ปุ่น ที่ต้องรอคิว 43 ปี ถึงจะได้กิน

จีนพบ “ดอกไม้สายพันธุ์ใหม่” ในกุ้ยโจว เติบโตได้แม้ในซอกหินที่ไร้ดิน

นักวิทย์จีนประสบความสำเร็จ โคลนลิงวอกด้วยเทคนิคใหม่

หมีน้ำสามารถอยู่ได้ทั้งในอุณหภูมิร้อนสุดขั้วเย็นสุดขั้ว ความดันสูงหรือต่ำสุดขีดก็ไม่หวั่น แม้จะเจอรังสีอันตรายก็ไม่เป็นอะไร หรือต่อให้จะขาดน้ำ ขาดอาหาร กระทั่งขาดอากาศ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ แม้แต่ในอวกาศ มันก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้!

ไม่เพียงแค่นี้ สายพันธุ์ของพวกมันอยู่มาตั้งแต่ 600 ล้านปีก่อน หรือก็คือเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ และอยู่รอดพ้นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่(Great Extinction) มาได้ทุกครั้งอีกด้วย

นั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยมาโดยตลอดว่า กลไกอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสามารถในการดำรงชีวิตขั้นสุดยอดนี้

ในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่หมีน้ำใช้เพื่อเข้าสู่สภาวะ “เกือบคงกระพัน” (near-invincible) ซึ่งช่วยปกป้องพวกมันจากสภาพแวดล้อมสุดขั้วต่าง ๆ รวมถึงสุญญากาศในอวกาศด้วย

ความตายยากของพวกมันส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการฟื้นตัว โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า ในสภาวะใด ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต เจ้าหมีน้ำจะหดตัวจนกลายเป็นลูกบอลแห้ง ๆ ที่แทบจะทำลายไม่ได้ เรียกว่า “สภาวะถัง” (Tun State)

สภาวะดังกล่าวคล้ายกับการจำศีล เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า “แอนไฮโดรไบโอซิส” (Anhydrobiosis) โดยขาของพวกมันจะหดกลับ และลำตัวที่อวบอ้วนจะขดตัวเป็นลูกบอลเล็ก ๆ และระบายความชื้นในร่างกายออกมา 95% ซึ่งจะช่วยให้มันสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่สูง ทนทานต่อรังสีอันทรงพลัง และแม้กระทั่งไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ แม้จะถูกยิงออกมาจากปืนซึ่งน่าจะสร้างแรงเสียดทานและแรงกระแทกมหาศาลสำหรับสัตว์ตัวเล็กอย่างหมีน้ำ

แต่ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจนักว่า พวกมันทำอย่างนี้ได้อย่างไร

ทีมนักวิจัยบอกว่า “เป็นที่เข้าใจกันมานานแล้วว่า หมีน้ำสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคผ่านกระบวนการบางอย่างได้ แต่กลไกที่หมีน้ำรับรู้ถึงความผันผวนของสภาพแวดล้อมและส่งสัญญาณเพื่อเข้าและออกจากสภาวะถัง ยังเป็นเรื่องที่ไม่มีคำตอบ”คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

แต่ในการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมาในวารสาร PLOS One นักวิจัยได้เปิดเผยถึงรากฐานระดับโมเลกุลของทักษะการเอาชีวิตรอดที่น่าทึ่งนี้

เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้แสดงความสามารถในการเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะถังได้อย่างไร ทีมนักวิจัยได้นำหมีน้ำสายพันธุ์ Hypsibius exemplaris มาทดลองอยู่สภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่าง ๆ และทำการวัดสภาพทางเคมีภายในเซลล์ของหมีน้ำ

นักวิทยาศาสตร์พบว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะผลิตอนุมูลอิสระ (Free Radical) ที่เปลี่ยนพวกมันให้อยู่ในสภาวะถัง

อนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นในเซลล์ของหมีน้ำในระหว่างระยะที่เรียกว่า “Oxidative Stress” หรือการมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ซึ่งในสัตว์ส่วนใหญ่ ภาวะนี้ถือเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากอนุมูลอิสระจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนและชิ้นส่วนของ DNA ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตราย

แต่ในหมีน้ำ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า อนุมูลอิสระจะทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนซิสเตอีน เพื่อเปลี่ยนหมีน้ำให้อยู่ในสภาพที่แทบจะเป็นอมตะ

และเมื่อนักวิทย์ทดลองยับยั้งกระบวนการออกซิเดชันของซิสเทอีน ก็พบว่าหมีน้ำจะไม่สามารถเข้าสู่สภาวะถังได้จริง ๆ

ขั้นตอนต่อไปของนักวิทยาศาสตร์คือ การดูว่ากลไกนี้เป็นสิ่งที่หมีน้ำทุกสายพันธุ์มีเหมือนกันหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้พูดแต่น่าสนใจมากคือ จะมีทางใดหรือไม่ ที่มนุษย์จะเลียนแบบกระบวนการของเจ้าหมีน้ำ เพื่อให้เราสามารถทนทานได้ต่อทุกสภาวะ ที่ไม่ว่าจะร้อน เย็น หิว กระหาย หรือในอวกาศ เราก็จะยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้

เรียบเรียงจาก Live Science

วิเคราะห์บอล! เอเชียน คัพ 2023 ซาอุฯ พบ ทีมชาติไทย 25 ม.ค.67

พยากรณ์อากาศล่วงหน้าช่วง 27 ม.ค.-2 ก.พ. ฝนฟ้าคะนอง อุณหภูมิสูงขึ้น

ฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 ได้ 14 ทีม เข้ารอบน็อคเอาท์

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin